วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสในฝรั่งเศส

   
     คริสต์มาส เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่ง ในศาสนาคริสต์ มิใช่เป็นวันสำคัญฝ่ายร่างกาย จัดงานรื่นเริงภายนอกเท่านั้น ซึ่งเป็นแต่เพียงเปลือกนอก ของการฉลองคริสต์มาส แต่แก่นแท้อยู่ที่ความรักของพระเจ้าที่ มีต่อโลกมนุษย์ นั่นคือ พระเจ้าทรงรักมนุษย์มากจน ถึงกับยอมส่งพระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์ ให้มาเกิดเป็นมนุษย์ มีเนื้อหนังมังสา ชื่อว่า เยซูการที่พระเจ้าได้ถ่อมองค์และเกียรติ ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น จากการเป็นทาสของความชั่ว และบาปต่างๆ นั่นเอง ดังนั้น ความสำคัญของวันคริสต์มาส จึงอยู่ที่การฉลองความรัก ที่พระเจ้ามีต่อโลกมนุษย์ อย่างเป็นจริงเป็นจัง และเห็นตัวตนในพระเยซูคริสต์ ที่มาเกิดเป็นมนุษย์ มากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น

    เทศกาลคริสต์มาส เป็นเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี  ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศการเฉลิมฉลอง  ใกล้วันคริสต์มาสแล้ว ทำให้นึกถึงคริสต์มาสในฝรั่งเศส  แต่ในฝรั่งเศส  และคาดว่าอีกหลายๆประเทศนั้น  คริสต์มาสเป็นวันครอบครัวค่ะ
    คนที่นี่จะถือโอกาสหยุดยาวลากลับไปเที่ยวบ้านพ่อแม่ และทานอาหารมื้อใหญ่กับครอบครัวค่ะ มื้อใหญ่จริงๆนะคะทานกว่าจะเสร็จหลายชั่วโมงค่ะ บางทีทานเที่ยง เสร็จหกโมงเย็นค่ะ อาหารที่ทานๆกันนั้นก็จะล้วนแล้วแต่เป็นของดีอย่างเช่น ฟัวการ์ (foie gras - ขออธิบายนะคะเป็นตับเป็ดที่รสชาติหวานร่อยมากค่ะ เวลาทาน ทานเหมือนแยมค่ะ ปาดบนขนมปัง โรยพริกไทยเล็กน้อย อร่อยอย่าบอกใครค่ะ) ไอวี่เองซื้อทานเป็นประจำ ถึงแม้จะไม่ใช่เทศกาลค่ะ ส่วนอาหารอื่นๆนะคะ ปลาแซลมอนรมควัน เนื้อขั้นดี ชีส ไวน์ บางบ้านอาจทาน ฟองดู เนื้อ หรือว่า ฟองดูชีส และสุดโปรดของไอวี่เอง คราเครท  raclette - เป็นการเอาชีสแผ่นไปละลายบนเตาแล้วราดทานกับแฮมเบค่อน มันฝรั่ง ผัก หรืออะไรก็ได้ค่ะ  

ในคืนนี้เองนั้นจะมีการแลกของขวัญค่ะ เหมือนที่เราอาจจะเคยเห็นในหนังฝรั่ง เราต้องมีของให้ทุกๆคนที่ไปนะคะ เป็นสิ่งสำคัญมากทีเดียวค่ะ ห้ามพลาดห้ามลืมแม้แต่คนเดียว

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเข้าศึกษาต่อคณะอักษรศาสตร์

การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มี 3 ระบบ ได้แก่

1. โควต้าพิเศษ

ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ที่มีสิทธิ์สมัครสอบต้องเป็นนักเรียนในเขตพื้นที่ 28 จังหวัด คือ จังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และจังหวัดอุทัยธานี
     สาขาวิชาของคณะอักษรศาสตร์ที่เปิดรับสมัคร ได้แก่
     1. ไม่แยกสาขาวิชาเอก (นักศึกษาเลือกสาขาวิชาเอกในภาคการศึกษาปลายของชั้นปีที่ 2)
     2. แยกสาขาวิชาเอก

         - สาขาวิชาประวัติศาสตร์
         - สาขาวิชาปรัชญา
         - สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
         - สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
         - สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
         - สาขาวิชาภูมิศาสตร์
         - สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา
         - สาขาวิชาสังคีตศิลป์ไทย
         - สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
     อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.quota.su.ac.th 

2. Admission กลาง

ดำเนินการโดย สกอ. ศึกษารายละเอียดได้ที่ www.cuas.or.th 

3. โครงการพิเศษเอเชียศึกษา

ดำเนินการโดยคณะอักษรศาสตร์ รับนักศึกษาสาขาวิชาเอเชียศึกษา โดยมีวิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา ดังนี้

     เกณฑ์การคัดเลือก*
     1. ใช้คะแนนสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (สกอ.)
         ผลสอบ O-NET
         - วิชาภาษาไทย
         - วิชาสังคมศึกษา
         - วิชาภาษาอังกฤษ
         โดยคิดเป็นค่าน้ำหนักคะแนน ร้อยละ 30
         ผลสอบ GAT ความถนัดทั่วไป
         โดยคิดเป็นค่าน้ำหนักคะแนนร้อยละ 70 ทั้งนี้เลือกใช้คะแนนสอบของครั้งที่ดีที่สุดของการสอบในปีที่กำหนด

     2. การสอบสัมภาษณ์ (เฉพาะผู้ได้รับการประกาศว่ามีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์)

     ระยะเวลาการรับสมัคร ประมาณเดือนเมษายน - พฤษภาคม ของแต่ละปี

     สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม งานบริการการศึกษา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โทรศัพท์ 034-256709 หรือดูรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์โครงพิเศษเอเชียศึกษา 
     * หมายเหตุ
 เกณฑ์การคัดเลือกในแต่ละปีอาจมีการเปลี่ยนแปลง


วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

อุโมงค์มหัศจรรย์

ใครชอบการท่องเที่ยวสไตล์แหวกแนว ได้อารมณ์ตื่นตาตื่นใจ และถ้าไปเซี่ยงไฮ้ไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ เพราะ The Bund Sightseeing Tunnel อุโมงค์มหัศจรรย์ตอบโจทย์คุณได้อย่างดีเลยล่ะ
เดิมที The Bund Sightseeing Tunnel ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ใช้เป็นเส้นทางขนส่งนักท่องเที่ยวกรุ๊ปใหญ่ๆที่มายังนครเซี่ยงไฮ้ แต่ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ทางเซี่ยงไฮ้เลยติดตั้งระบบแสงสีเสียงสุดอลังการ ทำให้ช่วงเวลาระหว่างอยู่บนรถอัตโนมัติภายใต้อุโมงค์แห่งนี้ เหมือนอยู่ในอีกโลกหนึ่งเลยทีเดียว
เส้นทางการวิ่งของรถอัตโนมัติภายใต้อุโมงค์นี้จะวิ่งจาก Bund ถึง Lujiazui และสิ้นสุดที่ Pearl Tower ในราคา 55 หยวนต่อเที่ยว เปิดบริการทุกวันตั้งแต่ 8.00-22.00 น.

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

'เทศกาลปามะเขือเทศ' ของสเปน

สีสันเทศกาลประจำปีของสเปนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก   'เทศกาลปามะเขือเทศ' ( La Tomatina) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

กลับมาให้บรรดาชายหญิงสุดคะนอง ได้สนุกสนานไปกับการปามะเขือเทศใส่กันว่ากันว่ากิจกรรมรื่นเริงนี้มีส่วนคล้ายกับเทศกาลสงกรานต์ของไทยไม่น้อย จะผิดกันคงตรงที่ชาว กระทิงดุ จะใช้มะเขือเทศปาใส่กันแทนน้ำนั่นเอง ทั้งนี้เทศกาลจะถูกจัดขึ้นเฉพาะในเมืองนี้แห่งเดียว และจำกัดพื้นที่เพียงช่วงสั้นๆบนถนนแคบๆระหว่างตึกในเมืองเท่านั้น  โดยงานนี้จะจัดขึ้นในช่วงท้ายเดือนสิงหาคมทุกปี 
ช่วงเช้าก่อนเริ่มงานวันแรก แฮม หรือ หมูรมควัน ที่ถูกนำไปวางไว้บนเสาลื่นน้ำมันก็จะถูกคนรุมแย่งปีนขึ้นไปคว้า แต่กว่าจะได้ผู้ชนะเรียกได้ว่าแทบสำลัก เพราะนอกจากต้องทุลักทุเลกับความลื่นแล้ว ยังมีเสียงโห่ร้องเพลงด้านล่างเป็นอุปสรรคพร้อมกับการฉุดกระชากลากถูลงมาอีก สุดท้ายทุกคนจะเปล่งเสียงยกย่องผู้พิชิตหมูชิ้นนั้น  ต่อมาเมื่อมีน้ำเริ่มฉีดจนผู้ร่วมงานตัวเปียก เป็นอันว่าเวลาของการทำสงครามมะเขือเทศเริ่มขึ้นแล้ว โดยรถบรรทุกหลายคันจะขนมะเขือเทศเข้ามาเป็น 100ตัน แล้วคนก็จะเริ่มวิ่งกรูเข้ามาแย่งเอามะเขือเทศมาปาใส่กันอย่างสนุกสนาน  

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันเข้าพรรษา 2556 
          อีกไม่นาน ก็จะถึงวันสำคัญทางพุทธศาสนานั่นก็คือ "วันเข้าพรรษา" ซึ่งเป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า "จำพรรษา" นั่นเอง
ประวัติวันเข้าพรรษา
          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา" 

          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด 
          สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่

          
1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย 
          
2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ 
          
3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด 
          
4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้


          
นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ 
          ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...

          
อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง 
    พรุ่งนี้เข้าพรรษาแล้ว งดเหล้าเข้าพรรษากันนะจ๊ะ

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


ค่าครองชีพในประเทศฝรั่งเศส

 
ด้วยสถานภาพความเป็นนักศึกษา นักศึกษาต่างชาติได้รับส่วนลดมากมายเท่ากันกับนักศึกษาชาวฝรั่งเศส ดังนั้นงบประมาณค่าใช้จ่ายรายเดือนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1 000 ยูโรในปารีส และ 800 ยูโรในเมืองอื่นๆ (รวมค่าเช่าที่พักแล้ว)
 
 
                     , Thailand
ต่อไปนี้เป็นรายการแสดงราคาสินค้าต่อ 1 รายการ (ซึ่งอาจจะต่ำลงนอกเขตปารีส)
อาหารและมื้ออาหาร
  • ขนมปังฝรั่งเศส 1 ก้อน : 0.80 ยูโร
  • กาแฟ 1 ถ้วย : 1-2 ยูโร
  • เนยแข็ง 1 ชิ้น : 2 ยูโร
  • ครัวซองต์ 1 ชิ้น : 1 ยูโร
  • พาสต้า 1 กิโลกรัม : 1 ยูโร
  • มันฝรั่ง 1 กิโลกรัม : 1.20 ยูโร
  • ข้าว 1 กิโลกรัม : 1.90 ยูโร
  • นม 1 ลิตร : 1.20 ยูโร
  • ไข่ 6 ฟอง : 1.50 ยูโร
  • อาหาร 1 มื้อในโรงอาหารมหาวิทยาลัย : 3 ยูโร
  • อาหาร 1 มื้อในร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด : 7 ยูโร
  • อาหาร 1 มื้อในร้านอาหารทั่วไป : 10-20 ยูโร
  • แซนวิช 1 ชิ้น : 3-5 ยูโร
การขนส่ง
  • บัตรโดยสารขนส่งสาธารณะรายเดือนในปารีส :  ตั้งแต่ 60 (ในปารีส) ถึง 123 (ชานเมือง) ยูโร
  • น้ำมันเบนซิน  1  ลิตร  : 1.40 ยูโร
  • จักรยานเช่า 1  คัน : 1 ยูโรต่อวัน
  • ตั๋วเครื่องบินไปกลับปารีส – บาร์เซโลน่า 1 เที่ยวบิน : 100 ถึง 150 ยูโร
  • ตั๋วรถไฟทาลิสไปกลับปารีส – บรัสเซล – อัมสเตอร์ดัม : 100 ถึง120 ยูโร
  • ตั๋วรถไฟยูโรสตาร์ไปกลับปารีส – ลอนดอน  : 100 ถึง 150 ยูโร
  • ตั๋วรถไฟ TGV ไปกลับปารีส – นีซ : 140 ยูโร (ราคาถูกกว่าถ้าจองล่วงหน้า)
วัฒนธรรมและสันทนาการ
  • เป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ต ค่าใช้จ่ายประมาณ 20 - 50 ยูโรต่อเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้จัดจำหน่าย
  • ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ : ค่าใช้จ่าย 30 ยูโรต่อเดือน ขึ้นอยู่กับผู้จัดจำหน่าย
  • ค่าเข้าชมภาพยนต์ราคานักศึกษา : ประมาณ 7.50 ยูโร (บัตรเหมาจ่ายชมได้ไม่จำกัด 30 ยูโรต่อเดือน)
  • ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ : ประมาณ 5 - 10 ยูโร
  • ค่าเข้าใช้บริการสระว่ายน้ำราคานักศึกษา : 1.70 ยูโร
  • หนังสือพิมพ์  1 ฉบับ : 1.20  ยูโร
  • เครื่องเล่น DVD  1  เครื่อง : 50 - 150 ยูโร
  • เครื่องเล่น MP3 1 เครื่อง : 20 - 150 ยูโร
  • หนังสือ 1 เล่ม : ประมาณ 6  ยูโร
  • โรงแรม 1 คืนในห้องพักแบบมาตราฐาน : 60 ยูโร
  • ค่าเข้าชมละครในโรงละคร 1 ที่นั่ง : 10 - 30 ยูโร

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

หากเอ่ยถึง วันตรุษไทย หลายคนคงไม่คุ้นเคยเท่ากับ วันตรุษจีน ทั้งที่ วันตรุษไทย ก็เป็นวันสำคัญของไทยที่มีประเพณีสืบต่อกันมา ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน 
          วันตรุษไทย ตรงกับวันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือน 4 และวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 รวม 3 วัน โดยถือเอาวันแรก คือ วันแรม 14 ค่ำ เป็นวันจ่าย เพื่อตระเตรียมสิ่งของไว้ทำบุญ และวันที่ 2 คือ วันแรม 15 ค่ำ เป็นวันทำบุญตักบาตร  มีการละเล่นสนุกสนานตามประเพณีท้องถิ่น ซึ่งจะเล่นกันจนถึงวันที่ 3 คือวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 4

          ทั้งนี้ คำว่า ตรุษ เป็นคำไทยที่แผลงมาจากภาษาสันสกฤต มี 2 ความหมาย โดยความหมายแรก แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายความถึง วันตรุษไทย ที่มีนัยว่า ตัดปีเก่าที่ล่วงมาแล้วให้ขาดไป ส่วนอีกความหมายหนึ่ง ตรุษ แปลว่า ความยินดี ความรื่นเริงใจ ความบันเทิงใจ ซึ่งหมายถึง วันตรุษสงกรานต์ หรือ วันสงกรานต์ ที่ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ทำให้ วันตรุษไทย เปรียบเสมือนวันสิ้นปี หรือเป็นประเพณีทำบุญส่งท้ายปีเก่านั่นเอง

          แต่ด้วยความที่ วันตรุษไทย มักจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งใกล้กับ วันสงกรานต์ ทำให้ปัจจุบันการจัดงาน วันตรุษไทย ถูกรวบยอดไปจัดในวันสงกรานต์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนไทยจึงไม่ค่อยรู้จัก วันตรุษไทย

          ประวัติ วันตรุษไทย 

          ว่ากันว่า ประเพณี วันตรุษ แต่เดิมเป็นของพวกอินเดียฝ่ายใต้ เมื่อพวกทมิฬได้มาครองเมืองลังกา ก็ได้นำพิธีตรุษอันป็นวิถีปฏิบัติของลัทธิตนเข้ามาด้วย ทำให้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนกระทั่งกลายเป็นงานนักขัตฤกษ์ใหญ่ มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ในวันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือน 4 และขึ้น 1 ค่ำ เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองของตน

          ส่วนในประเทศไทย มีปรากฎในตำนานนางนพมาศ หรือตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ว่า วันตรุษไทย มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยพระมหากษัตริย์ผู้ครองประเทศในครั้งนั้นทรงรับเอาประเพณี วันตรุษ มาเป็นพระราชพิธี และทรงทำบุญบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการประจำ เรียกว่า "พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์" คือ ทำบุญวันสิ้นปีหรือทำบุญส่งปีเก่า โดยกษัตริย์จะนิมนต์พระสงฆ์เข้ามาในพระราชวัง 3 วัน เพื่อทำการเจริญพระพุทธมนต์ และเมื่อสวดเจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้ว จะมีการยิงปืนไปทั่วพระนคร เหมือนกับไล่ผีไล่ปีศาจ ไล่สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายให้หมดไปกับปีเก่า

          หลังจากนั้น ประเพณี วันตรุษไทย หรือ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ก็กระทำสืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทางราชการก็ได้มีการสั่งให้ยกเลิกประเพณี พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ หรือ พิธีวันตรุษไทยของหลวง โดยให้ยกเอาไปรวมกับพิธีสงกรานต์ เรียกรวมกันว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์ แต่ในส่วนของชาวบ้านก็ยังมีการประกอบพิธี วันตรุษไทย กันอยู่อย่างเดิม และยังทำอยู่ทั่วไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ

          อย่างไรก็ดี สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยถึงการเข้ามาของ ประเพณี วันตรุษ ว่า...

          1. อาจได้หนังสือที่เป็นตำรามา ซึ่งเป็นภาษาสิงหฬ และจารึกลงในใบลานด้วยอักษรสิงหฬ แล้วมาแปลออกเป็นภาษาไทยเรา

          2. อาจมีพระเถระชาวลังกา ซึ่งเป็นที่มีความชำนาญในการพิธีตรุษ ได้เข้ามาในเมืองไทย แล้วมาบอกเล่า และสอนให้ทำพิธีตรุษกันขึ้น

          3. อาจมีพระสงฆ์ของไทย ได้ไปเห็นชาวลังกาทำพิธีตรุษ และได้มีโอกาสได้ศึกษาทำพิธีตรุษนั้น จนมีความสามารถทำได้ แล้วก็ได้นำเอาตำรานั้นเข้ามาสู่ประเทศไทย



          การทำบุญ วันตรุษไทย 

          ในการทำบุญประเพณี วันตรุษไทย ช่วงกลางวัน ก็จะมีการทำบุญตักบาตร และจัดทำข้าวเหนียวแดง และกาละแม ซึ่งเป็นขนมประจำเทศกาล วันตรุษไทย เพื่อทำบุญอุทิศให้กับญาติผู้อุทิศล่วงลับไปแล้วได้เก็บไว้กิน เพราะเก็บไว้ได้นาน มีการไหว้พระเจดีย์ตามวัดต่าง ๆ มีการละเล่นสนุกสนานต่าง ๆ เช่น ร้องเพลงอธิษฐาน เพลงมาลัย เพลงชาวงชัย และเล่นมอญซ่อนผ้า

          ยกตัวอย่างเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการเล่นรำวงกันเป็นที่ครึกครื้นของหนุ่มสาว ทำให้เกิดความ สามัคคีกันเป็นอย่างดี เมื่อมีกิจการใด ๆ ก็จะร่วมมือช่วยเหลือกันด้วยน้ำใจ ที่เรียกว่า "ลงแขก"  ซึ่งการละเล่นในยามตรุษ มีเนื้อเพลงที่ชาวบ้านแต่งร้องรำกันสนุนสนานรื่นเริงตอนหนึ่งว่า...

          ".....ตอนเช้า ทำบุญตักบาตร ทำบุญร่วมญาติ ตักบาตรร่วมญาติ กันเอย ตอนบ่ายเราเริงกีฬา เล่นมอญซ่อนผ้า เล่นสะบ้าเอย....."  และยังมีเพลงพื้นเมืองที่ควรจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพราะสมัยนั้นเป็น เวลาที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีเพลงที่เกี่ยวกับเสียงปืนที่หนุ่มสาวนำมาคิด ประดิษฐ์ร้องกันขึ้นว่า...

          "ครืน ครืน ครืน ได้ยินเสียงปืนกระทุกใจหวัง คิดไปหัวใจ เรายัง คิดถึงความหลังก็ยังเศร้าใจเขต แคว้นในแดนไทยเรา ถูกเขามายื้อแย่ง ไป คิดขึ้นมาน้ำตาหลั่งไหล คิดขึ้นมา น้ำตาหลั่งไหล ขึ้นชื่อว่าไทยไม่วายเขาลือ"

          ส่วนในช่วงกลางคืน วันตรุษไทย จะเป็นการเล่นเข้าทรงลงผีต่าง ๆ ตามทางสามแพร่ง สี่แพร่ง ก็มีการแขวนข้าวผอกกระบอกน้ำ ด้วยเพราะมีความเชื่อว่า การที่พระสงฆ์สวดบทอาฏานาฏิยสูตร หรือบทสวดภาณยักษ์ ป็นการสวดเพื่อให้ผีตกใจกลัว และผู้ที่มีปืนก็จะยิงปืนสนั่นหวั่นไหวเพื่อเป็นการไล่ผี (คล้ายพิธีหลวง) โดยผู้เฒ่าผู้แก่จะหยิบเอาปูนและขมิ้นวางไว้ข้างที่นอน เพื่อเอาไว้ให้พวกผีญาติผีเรือน ที่ตกใจกลัววิ่งกันชุลมุนล้มลุกคลุกคลาน จะได้หยิบเอาขมิ้นกับปูนนั้นมาทา และยังเชื่ออีกว่า ถ้าผู้ใดไม่สวดมงคลสูตร ผีอาจวิ่งมาชนล้ม หรือมาหลอกหลอน ทำให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดการเพ้อคลั่งมีกิริยาต่าง ๆ ซึ่งก็ถือกันมาจนปัจจุบัน
หากเอ่ยถึง วันตรุษไทย หลายคนคงไม่คุ้นเคยเท่ากับ วันตรุษจีน ทั้งที่ วันตรุษไทย ก็เป็นวันสำคัญของไทยที่มีประเพณีสืบต่อกันมา ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ว่าแล้ววันนี้ กระปุกดอทคอม จึงขอนำเรื่องราว วันตรุษไทย มาบอกกันต่อกันค่ะ

          วันตรุษไทย ตรงกับวันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือน 4 และวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 รวม 3 วัน โดยถือเอาวันแรก คือ วันแรม 14 ค่ำ เป็นวันจ่าย เพื่อตระเตรียมสิ่งของไว้ทำบุญ และวันที่ 2 คือ วันแรม 15 ค่ำ เป็นวันทำบุญตักบาตร  มีการละเล่นสนุกสนานตามประเพณีท้องถิ่น ซึ่งจะเล่นกันจนถึงวันที่ 3 คือวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 4

          ทั้งนี้ คำว่า ตรุษ เป็นคำไทยที่แผลงมาจากภาษาสันสกฤต มี 2 ความหมาย โดยความหมายแรก แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายความถึง วันตรุษไทย ที่มีนัยว่า ตัดปีเก่าที่ล่วงมาแล้วให้ขาดไป ส่วนอีกความหมายหนึ่ง ตรุษ แปลว่า ความยินดี ความรื่นเริงใจ ความบันเทิงใจ ซึ่งหมายถึง วันตรุษสงกรานต์ หรือ วันสงกรานต์ ที่ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ทำให้ วันตรุษไทย เปรียบเสมือนวันสิ้นปี หรือเป็นประเพณีทำบุญส่งท้ายปีเก่านั่นเอง

          แต่ด้วยความที่ วันตรุษไทย มักจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งใกล้กับ วันสงกรานต์ ทำให้ปัจจุบันการจัดงาน วันตรุษไทย ถูกรวบยอดไปจัดในวันสงกรานต์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนไทยจึงไม่ค่อยรู้จัก วันตรุษไทย

          ประวัติ วันตรุษไทย 

          ว่ากันว่า ประเพณี วันตรุษ แต่เดิมเป็นของพวกอินเดียฝ่ายใต้ เมื่อพวกทมิฬได้มาครองเมืองลังกา ก็ได้นำพิธีตรุษอันป็นวิถีปฏิบัติของลัทธิตนเข้ามาด้วย ทำให้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนกระทั่งกลายเป็นงานนักขัตฤกษ์ใหญ่ มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ในวันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือน 4 และขึ้น 1 ค่ำ เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองของตน

          ส่วนในประเทศไทย มีปรากฎในตำนานนางนพมาศ หรือตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ว่า วันตรุษไทย มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยพระมหากษัตริย์ผู้ครองประเทศในครั้งนั้นทรงรับเอาประเพณี วันตรุษ มาเป็นพระราชพิธี และทรงทำบุญบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการประจำ เรียกว่า "พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์" คือ ทำบุญวันสิ้นปีหรือทำบุญส่งปีเก่า โดยกษัตริย์จะนิมนต์พระสงฆ์เข้ามาในพระราชวัง 3 วัน เพื่อทำการเจริญพระพุทธมนต์ และเมื่อสวดเจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้ว จะมีการยิงปืนไปทั่วพระนคร เหมือนกับไล่ผีไล่ปีศาจ ไล่สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายให้หมดไปกับปีเก่า

          หลังจากนั้น ประเพณี วันตรุษไทย หรือ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ก็กระทำสืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทางราชการก็ได้มีการสั่งให้ยกเลิกประเพณี พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ หรือ พิธีวันตรุษไทยของหลวง โดยให้ยกเอาไปรวมกับพิธีสงกรานต์ เรียกรวมกันว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์ แต่ในส่วนของชาวบ้านก็ยังมีการประกอบพิธี วันตรุษไทย กันอยู่อย่างเดิม และยังทำอยู่ทั่วไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ

          อย่างไรก็ดี สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยถึงการเข้ามาของ ประเพณี วันตรุษ ว่า...

          1. อาจได้หนังสือที่เป็นตำรามา ซึ่งเป็นภาษาสิงหฬ และจารึกลงในใบลานด้วยอักษรสิงหฬ แล้วมาแปลออกเป็นภาษาไทยเรา

          2. อาจมีพระเถระชาวลังกา ซึ่งเป็นที่มีความชำนาญในการพิธีตรุษ ได้เข้ามาในเมืองไทย แล้วมาบอกเล่า และสอนให้ทำพิธีตรุษกันขึ้น

          3. อาจมีพระสงฆ์ของไทย ได้ไปเห็นชาวลังกาทำพิธีตรุษ และได้มีโอกาสได้ศึกษาทำพิธีตรุษนั้น จนมีความสามารถทำได้ แล้วก็ได้นำเอาตำรานั้นเข้ามาสู่ประเทศไทย



          การทำบุญ วันตรุษไทย 

          ในการทำบุญประเพณี วันตรุษไทย ช่วงกลางวัน ก็จะมีการทำบุญตักบาตร และจัดทำข้าวเหนียวแดง และกาละแม ซึ่งเป็นขนมประจำเทศกาล วันตรุษไทย เพื่อทำบุญอุทิศให้กับญาติผู้อุทิศล่วงลับไปแล้วได้เก็บไว้กิน เพราะเก็บไว้ได้นาน มีการไหว้พระเจดีย์ตามวัดต่าง ๆ มีการละเล่นสนุกสนานต่าง ๆ เช่น ร้องเพลงอธิษฐาน เพลงมาลัย เพลงชาวงชัย และเล่นมอญซ่อนผ้า

          ยกตัวอย่างเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการเล่นรำวงกันเป็นที่ครึกครื้นของหนุ่มสาว ทำให้เกิดความ สามัคคีกันเป็นอย่างดี เมื่อมีกิจการใด ๆ ก็จะร่วมมือช่วยเหลือกันด้วยน้ำใจ ที่เรียกว่า "ลงแขก"  ซึ่งการละเล่นในยามตรุษ มีเนื้อเพลงที่ชาวบ้านแต่งร้องรำกันสนุนสนานรื่นเริงตอนหนึ่งว่า...

          ".....ตอนเช้า ทำบุญตักบาตร ทำบุญร่วมญาติ ตักบาตรร่วมญาติ กันเอย ตอนบ่ายเราเริงกีฬา เล่นมอญซ่อนผ้า เล่นสะบ้าเอย....."  และยังมีเพลงพื้นเมืองที่ควรจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพราะสมัยนั้นเป็น เวลาที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีเพลงที่เกี่ยวกับเสียงปืนที่หนุ่มสาวนำมาคิด ประดิษฐ์ร้องกันขึ้นว่า...

          "ครืน ครืน ครืน ได้ยินเสียงปืนกระทุกใจหวัง คิดไปหัวใจ เรายัง คิดถึงความหลังก็ยังเศร้าใจเขต แคว้นในแดนไทยเรา ถูกเขามายื้อแย่ง ไป คิดขึ้นมาน้ำตาหลั่งไหล คิดขึ้นมา น้ำตาหลั่งไหล ขึ้นชื่อว่าไทยไม่วายเขาลือ"

          ส่วนในช่วงกลางคืน วันตรุษไทย จะเป็นการเล่นเข้าทรงลงผีต่าง ๆ ตามทางสามแพร่ง สี่แพร่ง ก็มีการแขวนข้าวผอกกระบอกน้ำ ด้วยเพราะมีความเชื่อว่า การที่พระสงฆ์สวดบทอาฏานาฏิยสูตร หรือบทสวดภาณยักษ์ ป็นการสวดเพื่อให้ผีตกใจกลัว และผู้ที่มีปืนก็จะยิงปืนสนั่นหวั่นไหวเพื่อเป็นการไล่ผี (คล้ายพิธีหลวง) โดยผู้เฒ่าผู้แก่จะหยิบเอาปูนและขมิ้นวางไว้ข้างที่นอน เพื่อเอาไว้ให้พวกผีญาติผีเรือน ที่ตกใจกลัววิ่งกันชุลมุนล้มลุกคลุกคลาน จะได้หยิบเอาขมิ้นกับปูนนั้นมาทา และยังเชื่ออีกว่า ถ้าผู้ใดไม่สวดมงคลสูตร ผีอาจวิ่งมาชนล้ม หรือมาหลอกหลอน ทำให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดการเพ้อคลั่งมีกิริยาต่าง ๆ ซึ่งก็ถือกันมาจนปัจจุบัน

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


 



        
 วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง และได้เวียนมาบรรจบอีกครั้ง โดยในปี พ.ศ.2556 นี้ วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556
ความหมายของวันมาฆบูชา

              คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3

การกำหนดวันมาฆบูชา
          การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม

 ความสำคัญและประวัติของวันมาฆบูชา
          ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่างๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"
 ทั้งนี้ในวันมาฆบูชาได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อมๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่
          1.วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

          2.มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

          3.พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6

          4.พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

          และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

          จาตุร แปลว่า 4
          องค์ แปลว่า ส่วน
          สันนิบาต แปลว่า ประชุม

          ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" นั่นเอง
          ทั้งนี้วันมาฆบูชาถือว่าเป็นวันพระธรรม ขณะที่วันวิสาขบูชาถือว่าเป็นวันพระพุทธ ส่วนวันอาสาฬหบูชา เป็นวันพระสงฆ์
 ประวัติการถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

          พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตามในหนังสือ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า

          ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศวรวิหารและวัดราชประดิษฐ์จำนวน 30 รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
          เมื่อถึงเวลาค่ำ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาติโมกข์ 1 กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วยจีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึงและขนมต่างๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูป สวดรับ

          ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้นๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง
          ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอบกิจกรรมทางศาสนา

          นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2549 รัฐบาลไทยประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกด้วย

 หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ

          หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติคือ "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

 หลักการ 3 คือหลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่
          1.การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

          2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตาม กุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)

          3.การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย

          ซึ่งทั้ง 3 หลักการข้างต้น สามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์" นั่นเอง

 อุดมการณ์ 4 ได้แก่

          1.ความอดทน อดกลั้น คือ ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ
          2.ความไม่เบียดเบียน คือ งดเว้นจากการทำร้าย หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
          3.ความสงบ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
          4.นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา


 วิธีการ 6 ได้แก่

          1.ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้าย โจมตีใคร
          2.ไม่ทำร้าย คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
          3.สำรวมในปาติโมกข์ คือ เคารพระเบียบวินัย กฎกติกา รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม
          4.รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีในการบริโภค รวมทั้งการใช้สอยสิ่งต่างๆ
          5.อยู่ในสถานที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
          6.ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือ การฝึกหัดชำระจิตใจให้สงบ มีประสิทธิภาพที่ดี




 กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

          การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชาคือ คือ ในตอนเช้า ควรไปทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร ช่วงบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา เมื่อถึงตอนค่ำ นำดอกไม้ ธูปเทียนไปเวียนเทียน 3 รอบที่พระอุโบสถ โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนควรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามสถานที่ต่างๆ และรักษาศีล สำหรับตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ จะมีการประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


 ข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันมาฆบูชา

 กิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัว
          กิจกรรมที่ครอบครัวควรทำในวันมาฆบูชา อย่างเช่น การทำความสะอาดบ้าน จัดแต่งที่บูชาประจำบ้าน ชักชวนครอบครัวไปทำบุญตักบาตร ฟังศีล ฟังธรรม บำเพ็ญกุศล ปฏิบัติธรรม รวมทั้งควรศึกษาหลักธรรมคำสั่งสอน และความสำคัญของวันมาฆบูชาด้วย

 กิจกรรมเกี่ยวกับสถานศึกษา

          ในสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแห่ง โดยภายในสถานศึกษาควรมีการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา เช่น จัดนิทรรศการให้ความรู้ ประกวดเรียงความ ตอบปัญหาธรรมะ บรรยายธรรม หรือร่วมกันทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน บำเพ็ญกุศล อีกทั้งประกาศเกียรติคุณนักเรียนผู้ทำประโยชน์ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

 กิจกรรมเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน

          ควรประชาสัมพันธ์ในที่ทำงาน และจัดให้มีการบรรยายธรรม หรือร่วมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน ร่วมทำบุญ บำเพ็ญกุศลร่วมกัน

 กิจกรรมเกี่ยวกับสังคม

          ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น วัด มูลนิธิ สมาคม สื่อมวลชน สนามบิน สถานีรถไฟ ฯลฯ ควรช่วยกันประชาสัมพันธ์ความสำคัญของวันมาฆบูชา อาจเป็นการพิมพ์เอกสารให้ความรู้ จัดให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม ช่วยกันรณรงค์ให้เลิกอบายมุข แต่รณรงค์ให้ช่วยกันทำประโยชน์ต่อสังคมแทน อาจช่วยกันปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดที่สาธารณะ ฯลฯ


 ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดกิจกรรมในวันมาฆบูชา

          พุทธศาสนิกชนจะมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมทั้งหลักธรรมต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักต่อความสำคัญของพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะชาวพุทธ และยังเป็นการช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไป

 



        
 วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง และได้เวียนมาบรรจบอีกครั้ง โดยในปี พ.ศ.2556 นี้ วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556
ความหมายของวันมาฆบูชา

              คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3

การกำหนดวันมาฆบูชา
          การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม

 ความสำคัญและประวัติของวันมาฆบูชา
          ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่างๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"
 ทั้งนี้ในวันมาฆบูชาได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อมๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่
          1.วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

          2.มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

          3.พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6

          4.พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

          และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

          จาตุร แปลว่า 4
          องค์ แปลว่า ส่วน
          สันนิบาต แปลว่า ประชุม

          ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" นั่นเอง
          ทั้งนี้วันมาฆบูชาถือว่าเป็นวันพระธรรม ขณะที่วันวิสาขบูชาถือว่าเป็นวันพระพุทธ ส่วนวันอาสาฬหบูชา เป็นวันพระสงฆ์
 ประวัติการถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

          พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตามในหนังสือ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า

          ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศวรวิหารและวัดราชประดิษฐ์จำนวน 30 รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
          เมื่อถึงเวลาค่ำ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาติโมกข์ 1 กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วยจีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึงและขนมต่างๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูป สวดรับ

          ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้นๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง
          ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอบกิจกรรมทางศาสนา

          นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2549 รัฐบาลไทยประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกด้วย

 หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ

          หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติคือ "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

 หลักการ 3 คือหลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่
          1.การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

          2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตาม กุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)

          3.การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย

          ซึ่งทั้ง 3 หลักการข้างต้น สามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์" นั่นเอง

 อุดมการณ์ 4 ได้แก่

          1.ความอดทน อดกลั้น คือ ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ
          2.ความไม่เบียดเบียน คือ งดเว้นจากการทำร้าย หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
          3.ความสงบ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
          4.นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา


 วิธีการ 6 ได้แก่

          1.ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้าย โจมตีใคร
          2.ไม่ทำร้าย คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
          3.สำรวมในปาติโมกข์ คือ เคารพระเบียบวินัย กฎกติกา รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม
          4.รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีในการบริโภค รวมทั้งการใช้สอยสิ่งต่างๆ
          5.อยู่ในสถานที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
          6.ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือ การฝึกหัดชำระจิตใจให้สงบ มีประสิทธิภาพที่ดี




 กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

          การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชาคือ คือ ในตอนเช้า ควรไปทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร ช่วงบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา เมื่อถึงตอนค่ำ นำดอกไม้ ธูปเทียนไปเวียนเทียน 3 รอบที่พระอุโบสถ โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนควรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามสถานที่ต่างๆ และรักษาศีล สำหรับตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ จะมีการประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


 ข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันมาฆบูชา

 กิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัว
          กิจกรรมที่ครอบครัวควรทำในวันมาฆบูชา อย่างเช่น การทำความสะอาดบ้าน จัดแต่งที่บูชาประจำบ้าน ชักชวนครอบครัวไปทำบุญตักบาตร ฟังศีล ฟังธรรม บำเพ็ญกุศล ปฏิบัติธรรม รวมทั้งควรศึกษาหลักธรรมคำสั่งสอน และความสำคัญของวันมาฆบูชาด้วย

 กิจกรรมเกี่ยวกับสถานศึกษา

          ในสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแห่ง โดยภายในสถานศึกษาควรมีการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา เช่น จัดนิทรรศการให้ความรู้ ประกวดเรียงความ ตอบปัญหาธรรมะ บรรยายธรรม หรือร่วมกันทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน บำเพ็ญกุศล อีกทั้งประกาศเกียรติคุณนักเรียนผู้ทำประโยชน์ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

 กิจกรรมเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน

          ควรประชาสัมพันธ์ในที่ทำงาน และจัดให้มีการบรรยายธรรม หรือร่วมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน ร่วมทำบุญ บำเพ็ญกุศลร่วมกัน

 กิจกรรมเกี่ยวกับสังคม

          ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น วัด มูลนิธิ สมาคม สื่อมวลชน สนามบิน สถานีรถไฟ ฯลฯ ควรช่วยกันประชาสัมพันธ์ความสำคัญของวันมาฆบูชา อาจเป็นการพิมพ์เอกสารให้ความรู้ จัดให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม ช่วยกันรณรงค์ให้เลิกอบายมุข แต่รณรงค์ให้ช่วยกันทำประโยชน์ต่อสังคมแทน อาจช่วยกันปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดที่สาธารณะ ฯลฯ


 ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดกิจกรรมในวันมาฆบูชา

          พุทธศาสนิกชนจะมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมทั้งหลักธรรมต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักต่อความสำคัญของพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะชาวพุทธ และยังเป็นการช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไป